อินเดีย-ปากีสถาน เตรียมรับมือไซโคลน “บีปอร์จอย” พัดถล่ม

ภาพบริเวณชายหาดแห่งหนึ่งของเมืองมันตรีในรัฐคุชราต ทางตะวันตกของอินเดียเมื่อช่วงเช้าวันนี้ ตามเวลาท้องถิ่น แสดงให้เห็นคลื่นซัดแรงและลมกรรโชกแรง เป็นสัญญาณว่าไซโคลนบีปอร์จอยใกล้จะเคลื่อนเข้าสู่ชายฝั่งอินเดียแล้ว

ขณะนี้ทางการรัฐคุชราตได้อพยพประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงกว่า 74,000 คนไปยังศูนย์พักพิงเรียบร้อยแล้ว ทั้งยังประกาศปิดโรงเรียน งดให้บริการขบวนรถไฟและปิดท่าเรือสำคัญๆ ในเมืองมุนตราและเมืองคานดลา รวมถึงระงับการดำเนินการแท่นขุดเจาะน้ำมันชั่วคราว

ปากีสถานไฟฟ้าดับทั่วประเทศ หลังโครงข่ายล่ม

ชาวปากีสถานว่างงาน 30,000 คน แห่สอบเข้าตำรวจแน่นสนามกีฬา

นอกจากนี้ทางการอินเดียยังส่งทีมจากหน่วยรับมือภัยพิบัติแห่งชาติและหน่วยรับมือภัยพิบัติแห่งรัฐ รวมถึงเจ้าหน้าที่ในหน่วยดูแลถนนและอาคารแห่งรัฐ และการไฟฟ้าแห่งรัฐ ประจำการตามเมืองต่างๆ ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เพื่อให้สามารถรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้ทันที

ด้านกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดียได้ประกาศเตือนภัยระดับสีแดง ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในบริเวณพื้นที่ชายฝั่งอย่างเมืองคัตช์และคาบสมุทรเสาราษฏระ เนื่องจากไซโคลนอาจทำให้เกิดสตอร์มเซิร์จหรือคลื่นพายุซัดฝั่งอย่างรุนแรง ฝนตกหนักจนเกิดน้ำท่วมฉับพลันและดินโคลนถล่ม ซึ่งสร้างความเสียหายรุนแรงต่อบ้านเรือนโดยเฉพาะบ้านที่เปราะบาง เช่น บ้านที่ทำด้วยดิน

ขณะที่ฝั่งปากีสถาน ทางการจังหวัดสินธ์ก็ได้อพยพประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งในเขตสุชาวาล เขตธาตตะ และเขตบดินทร์ เพิ่มอีก 67,000 คน ไปยังศูนย์พักพิงที่ทางการจัดเตรียมไว้ราว 75 แห่งทั่วรัฐ นอกจากนี้ หน่วยงานความมั่นคงทางทะเลของปากีสถานก็ได้ส่งกำลังพลประจำการตามแนวชายฝั่งเพื่อช่วยอพยพผู้คนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเล็กๆ ใกล้ชายฝั่ง

ส่วนนี่คือสถานการณ์ในนครการาจี เมืองที่มีประชากรมากที่สุดของปากีสถาน ซึ่งเป็นจุดที่ไซโคลนเคลื่อนเข้าสู่ฝั่งโดยตรง ประชาชนจำนวนมากต่างออกมาซื้ออาหารเพื่อเป็นเสบียง และสิ่งของจำเป็นต่างๆ เพื่อเตรียมรับมือกับพายุ

หลายคนซื้อเครื่องปั่นไฟเตรียมไว้รับมือหากไฟฟ้าใช้การไม่ได้ ขณะที่หลายคนก็ซื้อผ้าใบกันน้ำสำหรับซ่อมหลังคา รับมือฝนที่กำลังจะตกลงมา

ไซโคลนบีปอร์จอยถูกพิจารณาว่าเป็นไซโคลนที่มีระดับรุนแรงมาก กรมอุตุนิยมวิทยาของอินเดียคาดการณ์ว่า ไซโคลนจะขึ้นฝั่งด้วยความเร็วลมสูงสุด 125-135 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความเร็วลมกระโชกแรงถึง 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ไซโคลนดังกล่าวเคลื่อนตัวจากทะเลอาหรับ และจะพัดเข้าสู่ฝั่งบริเวณท่าเรือจากาเฮาของรัฐคุชราต ประเทศอินเดีย ซึ่งอยู่ระหว่างเมืองมันตรีในรัฐคุชราตและนครการาจีของจังหวัดสินธ์ ประเทศปากีสถาน ในวันนี้ เวลา 16.30 น.-20.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น

พายุหมุนเขตร้อน หรือที่เรียกต่างกันตามแหล่งกำเนิดว่า ไต้ฝุ่น เฮอริเคน หรือไซโคลน เป็นปรากฎการณ์ปกติที่เกิดในมหาสมุทรอินเดีย โดยเกิดจากอุณหภูมิในมหาสมุทรสูงขึ้น และยิ่งสูงขึ้นเท่าไหร่ ความชื้นในอากาศก็จะยิ่งมากขึ้น ก่อให้เกิดกลุ่มเมฆเป็นแนวดิ่งรวมตัวเป็นพายุ อย่างไรก็ตาม การวิจัยหนึ่งเปิดเผยว่า ช่วงระหว่างปี 1982-2019 ความถี่ ระยะเวลา และความรุนแรงของพายุไซโคลนในทะเลอาหรับเพิ่มขึ้นอย่างมาก

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีส่วนทำให้มหาสมุทรดูดซับความร้อนของโลกเพิ่มขึ้น อุณหภูมิในมหาสมุทรจึงยิ่งสูง ส่งผลให้พายุทวีความรุนแรงและก่อตัวได้นานขึ้น รวมถึงส่งผลกระทบในหลายพื้นที่มากขึ้น

ทั้งนี้ อินเดียและปากีสถานเคยรับมือกับพายุรุนแรงที่คร่าชีวิตผู้คนไปจำนวนมาก ครั้งล่าสุดที่อินเดียเผชิญคือเมื่อช่วงเดือนพฤษภาคมปี 2021 ในรัฐคุชราต โดยไซโคลนที่พัดถล่มอินเดียในครั้งนั้นมีชื่อว่า ไซโคลน “เตาะแต่”

มีความเร็วลมสูงสุดอยู่ที่ 155-165 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความเร็วลมกระโชกแรงถึง 185 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จัดเป็นเฮอริเคนระดับ 4-5 และถือว่าเป็นไซโคลนที่รุนแรงที่สุดที่เคยถล่มชายฝั่งทางตะวันตกของอินเดีย ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 170 คน และสร้างความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือนเกือบ 60,000 หลัง รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานอีกจำนวนมาก

ส่วนปากีสถานเคยเผชิญกับมรสุมในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนและเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ตอนนั้นเกิดฝนตกหนักมากกว่าปกติถึงร้อยละ 780 ทำให้น้ำท่วมฉับพลัน พื้นที่ 1 ใน 3 ของประเทศจมอยู่ใต้น้ำ และคร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 1,700 คน

ดินโคลนถล่มทำลายอาคารบ้านเรือนกว่าหลายหมื่นหลัง พืชผลผลิตทางการเกษตรราวร้อยละ 80 ได้รับความเสียหายเช่นกัน

หลายฝ่ายคาดการณ์ว่า มีผู้ได้รับผลกระทบรวมแล้วมากถึง 33 ล้านคน ส่วนความเสียหายทางเศรษฐกิจมีมูลค่ามากกว่า 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1 ล้านล้านบาท สำหรับไซโคลนบีปอร์จอย ทางการอินเดียและปากีสถานได้พยายามเตรียมรับมืออย่างสุดความสามารถเพื่อป้องกันและควบคุมความเสียหายจากพายุให้ได้มากที่สุด

ขณะที่อินเดียและปากีสถานกำลังรับมือกับไซโคลน ประเทศแคนาดาก็เผชิญกับไฟป่าที่ยังคงลุกไหม้อยู่หลายร้อยจุดและเผาผลาญพื้นที่ป่าไปแล้วกว่า 30 ล้านไร่ โดยเมื่อวานนี้นายกรัฐมนตรีแคนาดาออกมาเตือนเกี่ยวกับเรื่องนี้

ระหว่างที่ประชุมร่วมกับสมาชิกของกองทัพแคนาดาที่เมืองบาโกตวีล ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เป็นส่วนสำคัญในการต่อสู้กับไฟป่า นายกฯ “จัสติน ทรูโด” ของแคนาดา เตือนว่า สภาพอากาศแบบสุดขั้วนั้นกำลังจะเกิดบ่อยขึ้นเรื่อยๆ ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นั่นหมายความว่า แคนาดาจะต้องยกระดับความพร้อมในการรับมือกับไฟป่าให้ดียิ่งขึ้น

แคนาดากำลังเผชิญกับไฟป่าที่รุนแรงและเลวร้ายที่สุดในประวัติการณ์ ข้อมูลของศูนย์ป้องกันไฟป่าแคนาดาระบุว่า ขณะนี้มีจำนวนไฟป่ามากถึง 449 จุด ในจำนวนนี้ 219 จุดยังควบคุมไม่ได้ ขณะที่ไฟป่าได้เผาผลาญพื้นที่ไปแล้วกว่า 30 ล้านไร่

ควันไฟที่เผาไหม้ยังพัดปกคลุมหลายพื้นที่ในแคนาดาและประเทศใกล้เคียงอย่างสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะทางตะวันออกและเขตมิดเวสต์ ส่งผลให้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ค่ามลพิษในอากาศพุ่งสูง ทางการสหรัฐฯ และแคนาดาออกมาเตือนภัยให้ประชาชนระวังสภาพอากาศที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพคำพูดจาก สล็อต777

ทั้งนี้ แม้ว่าไฟป่ามักเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อนอยู่แล้ว แต่ขอบเขตของพื้นที่ที่ถูกทำลายในปัจจุบัน และไฟป่าที่เกิดขึ้นเร็วกว่าปกตินั้น เป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นและสภาพความแห้งแล้งที่เพิ่มขึ้น อากาศร้อนทำให้เกิดไฟง่ายและลุกลามเร็ว รวมถึงยาวนานกว่าปกติ

 อินเดีย-ปากีสถาน เตรียมรับมือไซโคลน “บีปอร์จอย” พัดถล่ม

You May Also Like

More From Author