ปรากฏการณ์มหัศจรรย์ อาจช่วยชะลอการละลายของธารน้ำแข็งเทือกเขาหิมาลัย

เป็นที่ทราบกันดีว่า ด้วยภาวะโลกร้อนและวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ทำให้ธารน้ำแข็งในหลายพื้นที่ทั่วโลกกำลังละลายอย่างรวดเร็ว ไม่เว้นแม้แต่ที่เทือกเขาหิมาลัย

แต่ล่าสุดมีการศึกษาวิจัยฉบับใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Geoscience เผยให้เห็นปรากฏการณ์ที่น่าอัศจรรย์ ซึ่งอาจช่วยชะลอผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศโลกต่อการละลายของธารน้ำแข็งได้

COP28 บรรลุข้อตกลงประวัติศาสตร์เปลี่ยนผ่านการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

COP28 ผลักดันการเพิ่มพลังงานสะอาด 3 เท่าภายในปี 2030

อุตุนิยมวิทยาโลกประกาศ ปี 2023 เป็นปีที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์

ผลการศึกษาระบุว่า เมื่ออุณหภูมิที่อุ่นขึ้นกระทบกับมวลน้ำแข็งในระดับความสูง จะทำให้เกิดปฏิกิริยาที่พัดลมหนาวจัดลงมา ช่วยรักษาความเย็นให้กับพื้นที่ และไม่ทำให้น้ำแข็งละลายเร็วเกินไป

ฟรานเชสกา เปลลิชอตติ ศาสตราจารย์ด้านธารน้ำแข็งวิทยาจากสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งออสเตรีย หัวหน้าทีมวิจัย อธิบายว่า ภาวะโลกร้อนทำให้เกิดช่องว่างของอุณหภูมิที่มากขึ้นระหว่างอากาศโดยรอบเหนือธารน้ำแข็งหิมาลัยกับอากาศที่เย็นกว่าบริเวณพื้นผิวของมวลน้ำแข็งคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

“สิ่งนี้นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของการแลกเปลี่ยนความร้อนที่ปั่นป่วนบริเวณพื้นผิวของธารน้ำแข็ง และการระบายความร้อนของมวลอากาศบนพื้นผิวที่แข็งแกร่งขึ้น” เธอกล่าว

เมื่ออากาศบนพื้นผิวเย็นลงและหนาแน่นขึ้น อากาศก็จะจมลง มวลอากาศไหลลงมาตามทางลาดลงสู่หุบเขา ทำให้เกิดความเย็นในบริเวณด้านล่างของธารน้ำแข็งและระบบนิเวศใกล้เคียง

เนื่องจากน้ำแข็งและหิมะจากเทือกเขาหิมาลัยไหลลงสู่แม่น้ำ 12 สายซึ่งเป็นแหล่งน้ำจืดให้กับผู้คนเกือบ 2 พันล้านคนใน 16 ประเทศ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องค้นหาว่า ธารน้ำแข็งหิมาลัยสามารถรักษาความเย็นไว้ได้หรือไม่ในขณะที่ภูมิภาคนี้เผชิญกับแนวโน้มว่าอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นอีกในไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า

รายงานเดือนมิถุนายนแสดงให้เห็นว่า ธารน้ำแข็งในเทือกเขาหิมาลัยละลายเร็วขึ้น 65% ในปี 2010 เมื่อเทียบกับทศวรรษก่อนหน้า ซึ่งชี้ให้เห็นว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้นกำลังส่งผลกระทบต่อพื้นที่นี้แล้ว

อย่างไรก็ตาม ที่ฐานของยอดเขาเอเวอเรสต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย การวัดอุณหภูมิเฉลี่ยโดยรวมกลับดูมีเสถียรภาพอย่างน่าประหลาด แทนที่จะเพิ่มสูงขึ้น

ฟรังโก ซาแลร์โน นักวิจัยจากสภาวิจัยแห่งชาติอิตาลี หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า “ในขณะที่อุณหภูมิต่ำสุดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่อุณหภูมิสูงสุดที่พื้นผิวน้ำแข็งในฤดูร้อนกลับลดลงอย่างต่อเนื่อง”

กระนั้น ลมเย็นเหล่านี้ก็ต่ออายุได้เพียงไม่นาน เพราะมันไม่เพียงพอที่จะรับมือกับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นและการละลายของธารน้ำแข็งอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างเต็มที่

โทมัส ชอว์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มวิจัย ISTA ร่วมกับเปลลิชอตติ กล่าวว่า สาเหตุที่ธารน้ำแข็งเหล่านี้ละลายอย่างรวดเร็วนั้นมีความซับซ้อน

“การระบายความร้อนเกิดขึ้นในท้องถิ่น แต่อาจจะไม่เพียงพอที่จะเอาชนะผลกระทบของภาวะโลกร้อนและรักษาธารน้ำแข็งไว้ได้อย่างเต็มที่” ชอว์กล่าว

เปลลิชอตติอธิบายว่า ขณะนี้ทีมวิจัยยังไม่มีข้อมูลว่า เทือกเขาสูงแห่งอื่น ๆ บนโลกก็มีปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นเหมือนกันหรือไม่ “กระบวนการที่เราเน้นย้ำในรายงานนี้อาจมีความเกี่ยวข้องทั่วโลก และอาจเกิดขึ้นบนธารน้ำแข็งทั่วโลกที่ตรงตามเงื่อนไข”

นอกจากนี้ยังไม่ชัดเจนว่า ปรากฏการณ์ลมเย็นที่เกิดขึ้นนี้ เป็นสิ่งเดียวกับที่เรียกว่า “ลมคาตาบาติก” (Katabatic Wind) หรือไม่

ลมคาตาบาติกคือ ลมหนาวที่เกิดจากอากาศที่ไหลลงเนิน เป็นลมที่พัดพาอากาศความหนาแน่นสูงจากระดับความสูงที่สูงกว่าลงมาตามทางลาด มักเกิดในบริเวณภูเขา รวมถึงเทือกเขาหิมาลัยด้วย

“ลมคาตาบาติกเป็นลักษณะทั่วไปของธารน้ำแข็งหิมาลัยและหุบเขา และมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นเสมอ สิ่งที่เราสังเกตเห็นคือ ความรุนแรงและระยะเวลาของลมคาตาบาติกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และนี่เป็นเพราะอุณหภูมิอากาศโดยรอบเพิ่มขึ้นจากภาวะโลกร้อน” เปลลิชอตติกล่าว

อีกสิ่งหนึ่งที่ทีมวิจัยสังเกตเห็นคือ ความเข้มข้นของโอโซนในระดับพื้นดินที่สูงขึ้นสัมพันธ์กับอุณหภูมิที่ลดลง หลักฐานนี้แสดงให้เห็นว่า ลมคาตาบาติกทำงานเป็นเหมือนเครื่องสูบน้ำที่สามารถขนส่งอากาศเย็นจากระดับความสูงที่สูงกว่าและชั้นบรรยากาศลงสู่หุบเขาได้

เรียบเรียงจาก CNN

ภาพจาก PRAKASH MATHEMA / AFP

 ปรากฏการณ์มหัศจรรย์ อาจช่วยชะลอการละลายของธารน้ำแข็งเทือกเขาหิมาลัย

OR เตรียมผุด 'พีทีที สเตชั่น' แบบไม่ขายน้ำมัน คาดเสร็จปลายปี 2567

กางปฏิทินจ่ายเงินเดือนข้าราชการ ค่าจ้างลูกจ้างประจำ บำนาญ ปี 2566

ฝุ่น PM 2.5 ลดลง! สมุทรสาครยังสีแดง เกินค่ามาตรฐานอีกกว่า 25 จังหวัด

You May Also Like

More From Author